‘สติ๊กเกอร์ลาเบล’ หรือ ‘ฉลากสินค้า’ รู้หรือไม่ว่าประเภทของกระดาษแต่ละแบบมีความแตกต่างและความเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ทำให้การเลือกใช้ต้องคำนึงถึงตัวผลิตภัณฑ์เป็นอันดับแรก เพื่อสร้างความโดดเด่นและใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพของแต่ละประเภท สำหรับใครที่กำลังจะทำสติ๊กเกอร์ลาเบลละก็ วันนี้เราจะพาไปรู้จัก 4 ประเภทของกระดาษสติ๊กเกอร์ติดฉลากสินค้าว่ามีอะไรบ้าง หากพร้อมแล้วมาดูกันเลยว่าแต่ละประเภทเป็นอย่างไร
สติ๊กเกอร์ประเภทเนื้อกระดาษ
สติ๊กเกอร์ประเภทนี้จะมีให้เลือกใช้งานอยู่หลักๆ ด้วยกัน 3 แบบ เงา, ขาวด้าน และกึ่งมันกึ่งด้าน โดยจุดเด่นของเนื้อกระดาษนั้นทนต่อความชื้นได้เป็นอย่างดี พร้อมเพิ่มความโดดเด่นให้กับสินค้า ซึ่งเหมาะกับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม, เบเกอรี่ และสินค้าทั่วไปได้เกือบทุกประเภท ที่สำคัญมีราคาที่ค่อนข้างถูกเลยทีเดียว
สติ๊กเกอร์ประเภทเนื้อพลาสติก
สติ๊กเกอร์ลาเบลประเภทเนื้อพลาสติก เป็นอีกหนึ่งแบบที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ด้วยจุดเด่นในเรื่องความยืดหยุ่น ทนทาน เนื้อพลาสติกมีความแกร่ง อีกทั้งยังสามารถทนแรงกด หรือบีบได้เป็นอย่างดี ซึ่งเนื้อพลาสติกจะแบ่งออกอยู่ด้วยกัน 3 แบบ ไม่ว่าจะเป็นพลาสติก PVC, พลาสติก PP ที่มีทั้งแบบ ใส ขาวด้าน ขาวเงา และขาวมุก, และพลาสติก PE
สติ๊กเกอร์ประเภทเนื้อพลาสติกพิเศษ
สติ๊กเกอร์ประเภทนี้จะมีจุดเด่นในเรื่องของการใช้งานที่โดดเด่นแตกต่างกันออกไป โดยจะมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบที่เห็นได้ชัด คือ สติ๊กเกอร์นิรภัยที่จะใช้ติดเพื่อให้รู้ว่าห้ามเปิดสินค้าและห้ามแกะ รวมไปถึงติดกระเป๋าเดินทางของสายการบิน, สติ๊กเกอร์เนื้อกาวพิเศษ (Removeable Seal) ที่ไม่ทิ้งคราบกาวไว้บนผลิตภัณฑ์ สามารถเปิดใช้งานได้หลายครั้ง อาทิ สติ๊กเกอร์ติดซองทิชชูเปียก เป็นต้น, และสติ๊กเกอร์ชนิดฆ่ากาว เป็นอีกหนึ่งแบบที่เห็นได้บ่อยตามฝาขวดโฟมล้างมือ โฟมล้างหน้า และเครื่องสำอาง เพราะมีความโดดเด่นที่คล้าย Pop-Up ขนาดเล็กๆ
สติ๊กเกอร์ประเภทวัสดุพิเศษ
สติ๊กเกอร์ลาเบลยังมีประเภทวัสดุพิเศษที่ได้รับความนิยมนำมาใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นฉลากสินค้าริบบิ้นพลาสติกหรือผ้าไนล่อน ที่อยู่บนกระสอบน้ำตาลและกระสอบข้าว, สติ๊กเกอร์ฟรอยด์เงินแบบเงา ที่เพิ่มความสะดุดตาบนขวดอาหารเสริมและครีมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี, ป้าย HANG TAG เป็นอีกหนึ่งแบบที่จะเห็นได้ทั่วไปตามเสื้อผ้า ป้ายโลโก้แบรนด์ เป็นต้น
ทั้ง 4 ประเภทของสติ๊กเกอร์ลาเบลหรือฉลากสินค้าที่ได้บอกไปข้างต้นนั้น มีจุดเด่นในเรื่องของการใช้งานและความเหมาะสมของสินค้าที่แตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้นต้องไม่ลืมคำนึงถึงจุดประสงค์การใช้งานเป็นหลัก เพื่อประสิทธิภาพของแต่ละประเภทได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด